เรื่อง การบัญชีสำหรับเกษตรกร
แนวคิด
ผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวบ้าน ซึ่งมักจะไม่มีความรู้ทางด้านบัญชี ดังนั้น จึงไม่เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการทำบัญชี แต่เนื่องจากกิจการเกษตร เป็นธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
การนำมุดรายวันเงินสดมาใช้เป็นสมุกบันทึกรายการขั้นต้นของของกิจการเกษตรจะทำให้การทำบัญชีของเกษตรกรไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของเกษตรกร
2. ประเภทของเกษตรกร
3. วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีสำหรับเกษตรกร
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร
5. สมุดบัญชี ระบบบัญชีและแระเภทบัญชีสำหรับเกษตรกร
6. การบันทึกบัญชีสำหรับเกษตรกร
7. การบันทึกรายการปรับปรุง
8. การบันทึกรายการปิดบัญชี
9. งบการเงิน
ความหมายของเกษตรกร
เกษตรกร หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก พืชไร เช่น ข้าว ข้างโพด อ้อย พืชผัก ผลไม้ ต่าง ๆ เช่น คะน้า ผักกาดขาว การเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์เพื่อการจำหน่ายเช่น เป็ด ไก่ สุกร โค และเลี้ยงไว้ใช้งาน เช่น ช้าง ม้า กระบือ เป็นต้น
ประเภทของเกษตรกร
สามารถแบ่งเกษตรกรออกตามอาชีพได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. อาชีพไร่นาสวนผสม
2. อาชีพเลี้ยงสัตว์
3. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
4. อาชีพปลูกสวนป่า
วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีสำหรับเกษตรกร
วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีสำหรับเกษตรกร ดังนี้
1. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับและเป็นหลักฐานในการอ้างอิง
2. เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจปลูกผลไม้เพิ่ม เลี้ยงเพิ่ม
3. เพื่อควบคุมสินทรัพย์ของกิจการ เช่น สัตว์ใช้งาน เครื่องมือเครื่องจักร
4. เพื่อป้องกันการทุจริตและข้อผิดพลาด ต่าง ๆ
5. เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกษตรกรในประเทศ
หน่วยงานราชการและองค์กร
1. กรมส่งเสริมการเกษตร
2. กรมวิชาการเกษตร
3. ระบบสารสนเทศทางวิชาการ
4. กรมวิชาการเกษตร
5. กรมทรัพย์กรธรณี
6. กรมชลประทาน
7. กรมป่าไม้
8. องค์การสวนยาง
9. มูลนิธิชัยพัฒนา
10. สถาบันวิจัยยาง
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรต่างประเทศ
สมุดบัญชี ระบบบัญชีและประเภทบัญชีสำหรับเกษตรกร
สมุดบัญชี จะประกอบด้วย
1. สมุดบันทึกรายการขั้นต้น สมุดรายวันเงินสดและสมุดรายวันทั่วไป
2. สมุดแยกประเภท ได้แก่ สมุดยกประเภททั่วไป
ระบบบัญชี
ระบบบัญชีที่ใช้ จะใช้เกณฑ์เงินสด
ประเภทบัญชี
ประเภทบัญชีของเกษตรกรจะแบ่งออกเป็น 5 หมวด เหมือนกิจการอื่น ๆ แต่ลักษณะบัญชีบางบัญชีจะไม่เหมือนกัน
การบันทึกบัญชีสำหรับเกษตรกร
1. บันทึกรายการค้าในสมุดรายการขั้นต้น
2. ผ่านรายการจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
3. ทำงบทดลอง
4. บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
5. ทำงบการเงิน
6. บันทึกรายการเปิดบัญชีในสมุดรายทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
การบันทึกรายการปรับปรุง
รายการปรับปรุง มีดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงเพื่อขายคงเหลือ จะปรับปรุงโดยการคิดราคาทุนที่ซื้อมาและโอนไปยังบัญชีสัตว์เพื่อขายคงเหลือ บันทึกรายการโดย
เดบิต สัตว์เพื่อขายคงเหลือ
เครดิต ค่าสัตว์เพื่อขาย
2. คิดค่าเสื่อมราคาที่ดิน อาคารและอุปกณ์ เช่น เครื่องมือการเกษตร อุปกณ์การเกษตร เครื่องจักร สัตว์ใช้งาน เรือนเพาะชำ บันทึกรายการโดย
เดบิต ค่าเสื่อมราคา - ชื่อสินทรัพย์
เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม - ชื่อสินทรัพย์
การบันทึกรายการปิดบัญชี
การบันทึกรายการปิดบัญชีของเกษตรกรจะคล้าย ๆ กับธุรกิจประเภทให้บริการและประเภทให้บริการและประเภทซื้อมาขายไป ทั้งนี้ เพราะผลิตผลของเกษตรกรบางอย่างถ้าขายไม่หมดจะเก็บไว้ไม่ได้ เช่น อาจจะเน่าเสีย หรือเก็บไว้ได้แต่ไม่ถือเป็นสินค้าคงเหลือ เช่น พืชผัก ผลไม้ ต่าง ๆ แต่บางอย่างจะเก็บไว้ได้และถ้าขายไม่หมดจะถือเป็นสินค้าคงเหลือ เช่น สัตว์เพื่อขาย ดังนั้นการบันทึกรายการปิดบัญชีอาจแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีไม่ถือเป็นสินค้าคงเหลือ การปิดบัญชีจะคล้าย ๆ กับกิจการให้บริการ ขั้นตอนในการปิดบัญชีจะดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปิดบัญชีรายได้เข้าบัญชีรายได้และค่าใช้จ่าย โดย
เดบิต รายได้
เครดิต รายได้และค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2 ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีรายได้และค่าใช้จ่าย โดย
เดบิต รายได้และค่าใช้จ่าย
เครดิต ค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 3 ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีทุน – เจ้าของกิจการ โดย
- ถ้ารายได้สุทธิ (กำไรสุทธิ) ขั้นตอนที่ 1 มากว่า ขั้นตอนที่ 2
เดบิต รายได้และค่าใช้จ่าย
เครดิต ทุน - เจ้าของกิจการ
- ถ้ามีค่าใช้จ่ายสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) ขั้นตอนที่ 1 น้อยกว่า ขั้นตอนที่ 2
เดบิต ทุน – เจ้าของกิจการ
เครดิต รายได้และค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 4 ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัว / เงินถอน - เจ้าของกิจการเข้าบัญชีทุน – เจ้าของกิจการ
เดบิต ทุน – เจ้าของกิจการ
เครดิต ถอนใช้ส่วนตัว / เงินถอน - เจ้าของกิจการ
งบการเงิน
งบการเงิน สำหรับกิจการเกษตรประกอบด้วยงบ 2 งบ คือ
1. งบรายได้และค่าใช้จ่าย เป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของเกษตรกร ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่าย ถ้า
รายได้ มากว่า ค่าใช้จ่าย แสดงว่ารายได้สุทธิ (กำไรสุทธิ)
รายได้ น้อยกว่า ค่าใช้จ่าย แสดงว่ามีค่าใช้จ่ายสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ)
2. งบดุล เป็นงบทีแสดงฐานะการเงินของเกษตร ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น