บทที่ 3 การบัญชีเกี่ยวกับผู้ประกอบอาชีพอิสระ

เรื่อง   การบัญชีเกี่ยวกับผู้ประกอบอาชีพอิสระ
แนวคิด
ความหมายของเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
กรณีการประกอบโรคศิลป์ ถ้าเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล เงินเดือนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) จะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) ต่อเมื่อแพทย์ผู้นั้น ไปเปิดคลินิกรักษาโรค ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นเจ้าของกิจการเอง มิได้เป็นลูกจ้างผู้ใด
ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องมีการจัดทำบัญชีเช่นเดียวกับธุรกิจเจ้าของคนเดียวอื่น ๆ เพื่อจะได้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ

สาระการเรียนรู้
1.       ความหมายของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
2.      วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีและประเภทบัญชีของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
3.      สมุดบัญชีที่ใช้และการบันทึกบัญชี
4.    การบันทึกรายการปรับปรุง
5.    งบการเงิน

ความหมายของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
          ผู้ประกอบอาชีพอิสระ  คือ  ผู้ที่ใช้ความรู้  ความสามารถและทักษะในสาขาเฉพาะวิชาที่ศึกษามา  ประกอบอาชีพอิสระหรืออาชีพส่วนตัว  เช่น  แพทย์ ทันตแพทย์  ผู้ทำบัญชี  ทนายความ  เป็นต้น








แพทย์/ทันตแพทย์
          เมื่อแพทย์หรือทันตแพทย์ต้องการที่จะประกอบอาชีพอิสระ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดคลินิกจะต้องปฏิบัติดังนี้
1.    ขอขึ้นทะเบียนที่  กองการประกอบโรคศิลปะ  สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธาณสุข
2.    ปฏิบัติตามกฎกระทรวง  9  ฉบับ
3.    การติดประกาศโฆษณาหน้าคลินิกหรือเอกสารแจกจ่าย  ต้องไม่มีลักษณะโอ้อวด  ชักชวน
4.    การติดประกาศสิทธิผู้ป่วย  อัตราค่ารักษา  ใบอนุญาตประกอบกิจการ  ใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลในคลินิก
5.    การายงานข้อมูลการให้บริการ

ทนายความ
คุณสมบัติของผู้ที่เป็นทนายความ
1.    ต้องมีสัญชาติไทย
2.    ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากถาบันที่สภาทนายความอนุมัติ
3.    ต้องไม่มีเป็นผู้ความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่อมในศิลธรรมอันดี
4.    ต้องไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษา
5.    ต้องไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจสังคม

ผู้ทำบัญชี/ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
          การประกอบอาชีพอิสระรับทำบัญชี  หรือสอบบัญชีนั้นจะต้องปฏิบัติ  ดังนี้
1.    ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   กระทรวงพาณิชย์
2.    แจ้งรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี/สอบบัญชี




วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีและประเภทบัญชีของผู้ระกอบอาชีพอิสระ 
          วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีและประเภทบัญชีของผู้ระกอบอาชีพอิสระ    ดังนี้
1.    เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง
2.    เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
3.    เพื่อป้องกันการทุจริต
4.    เพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก  เช่น  ธนาคาร
5.    เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการในการยื่นภาษีประจำปี

สมุดบัญชีที่ใช้และการบันทึกบัญชี
สมุดบัญชีที่ใช้
1.    สมุดบันทึกรายการขั้นต้น  นิยมใช้สมุดเงินสด  2  ช่องหรือสมุดรายวันเงินสด
2.    สมุดบัญชีแยกปะเภท  ใช้สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีและประเภทบัญชีของผู้ระกอบอาชีพอิสระ 
          วัตถุประสงค์ในการทำบัญชีและประเภทบัญชีของผู้ระกอบอาชีพอิสระ    ดังนี้
6.    เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง
7.    เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
8.    เพื่อป้องกันการทุจริต
9.    เพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก  เช่น  ธนาคาร
10.           เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการในการยื่นภาษีประจำปี

สมุดบัญชีที่ใช้และการบันทึกบัญชี
สมุดบัญชีที่ใช้
3.    สมุดบันทึกรายการขั้นต้น  นิยมใช้สมุดเงินสด  2  ช่องหรือสมุดรายวันเงินสด
4.    สมุดบัญชีแยกปะเภท  ใช้สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

การบันทึกบัญชี
การบันทึกบัญชีของผู้ประกอบอาชีพอิสระนิยมใช้ระบบเกณฑ์เงินสด คือ  จะบันทึกรายได้ต่อ
เมื่อได้รับเงินสดเท่านั้น  ไม่นิยมบันทึกบัญชีลูกหนี้  ดังนั้นจึงต้องจัดทะเบียนเพื่อจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับกับรายได้ที่ได้รับเป็นเงินสดและที่ยังไม่ได้รับ  เช่น กิจการทนายความต้องจัดทำทะเบียนลูกความหรือแพทย์/ทันตแพทย์  ต้องจัดทำทะเบียนคนไข้  เป็นต้น

          การบันทึกรายการปรับปรุง
          การบันทึกรายการปรับปรุงของผู้ประกอบอาชีพอิสระ  จะคล้าย  ๆ  กับกิจการค้าทั่วไป  เช่น  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย  ค่าเสื่อมราคาของที่ดิน  อาคารและอุปกรณ์ แต่ไม่นิยมปรับปรุงรายได้ค้างรับ
(รายได้ที่ยังไม่ได้รับมาเป็นเงินสด)

งบการเงิน
          งบการเงินของผู้ประกอบอาชีพอิสระ  แบ่งออกเป็น  2  งบ  คือ
1.    งบรายได้และค่าใช้จ่าย  คืองบที่แสดงผลการดำเนินงาน  ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่าย
-          ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย  เรียกว่า  รายได้สุทธิ
-          ถ้าค่าใช้จ่ายสูงรายได้  เรียกว่า  ค่าใช้จ่ายสุทธิ
2.  งบดุล  คือ  งบที่แสดงฐานะทางการเงิน  ประกอบด้วย  สินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น